อีสปเชื่อกันว่าอีสปมีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกับพระพุทธเจ้า คือมีชีวิตอยู่เมื่อราว 77-17 ปีก่อน

พุทธศักราช  หรือ620-560 ปีก่อนคริสตศักราช  ตามตำนานกล่าวว่าเกิดที่เมืองฟรีเยียอันเป็นบริเวณที่ทวีปเอเชียต่อชนกับทวีปยุโรป

ซึ่งยุคนั้นเจริญรุ่งเรืองมากเป็นแหล่งรวมพ่อค้าวาณิช,ทูตานุทูต,นักท่องเที่ยวและการค้าทาส  บางตำนานบอกว่าอีสปอาจจะมาจาก

เมืองเทรซ  ไพรเกีย เอธิโอเปีย ซามอส เอเธนส์ หรือเมืองซาร์ดิส ซึ่งไม่ยืนยันแน่นอน 

                ในชั้นเดิมอีสปมีฐานะเป็นทาสอยู่ที่เมืองซามอส (samos) ประเทศกรีซ เป็นทาสของอิดมอน ซึ่งได้มอบหน้าที่ให้เป็นครู

สอนหนังสือให้ลูกๆของเขา  บ้านของอิดมอนเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของหมู่คนสำคัญของกรีก  อีสปจึงมีโอกาสพบเห็นและสังเกต

อุปนิสัยคน      อิดมอนมักจะนำอีสปไปด้วยเสมอเมื่อออกสังคมและอีสปก็มักได้เล่านิทานให้พวกเขาเหล่านั้นฟังซึ่งก็เป็นที่ชื่นชอบ

                คามาริอุส ( Camarius) ผู้เขียนประวัติอีสปได้พรรณาว่าอีสปเป็นคนรูปอัปลักษณ์ผิดมนุษย์ ผิวดำมืด จมูกบี้ ปากแบะ

ลิ้นคับปาก หลังงุ้ม  เวลาพูดฟังไม่ไคร่ออกว่าเขาพูดกระไร  แต่ผู้ฟังนิทานก็ชื่นชอบในเนื้อหา ข้อคิดและคติเตือนใจ

       เมื่อได้รับอิสรภาพ อีสปได้เข้าอาศัยในวังของกษัตริย์ครีซุส ทำให้ได้พบกับนักปราชญ์และรัฐบุรุษของเอเธนส์มากมาย  อีสปเคย

ได้อาศัยอยู่ในสำนักของนักปราชญ์ โซมอล ญาติของผู้ครองนครเอเธนส์  ซึ่งเมื่อครั้งที่ผู้คนจะขับ ปีซัสเครตัส ออกจากตำแหน่งผู้ปก

ครองนครเอเธนส์  อีสปก็ได้เล่านิทานเรื่อง  “กบเลือกนาย”  ขึ้นที่นี่  ทำให้ชาวเมืองล้มเลิกความตั้งใจ    อีสปได้แสดงความคิดเห็น

ด้านการปกครองและเล่านิทานอุปมาอุปมัยไว้หลายเรื่องที่สำนักปราชญ์แห่งนี้

            ตัวละครในนิทานของอีสปส่วนใหญ่เป็นสัตว์ เช่นราชสีห์อันหมายถึงหรือเป็นตัวแทนของผู้มีอำนาจผู้ปกครอง หนูหมายถึง

ผู้ต่ำต้อย  ลาหมายถึงผู้ด้อยปัญญา   และสุนัขจิ้งจอกหมายถึงคนเจ้าเล่ห์

       

                  นิทานของอีสป เป็นเรื่องเล่าปากเปล่า ไม้ได้มีการจดบันทึกเป็นหลักฐาน  จนศตวรรษต่อๆมาจึงได้มีผู้บันทึกเอาไว้

 จะเห็นได้จากหลักฐานของแผ่นปาปิรัสโบราณ    ฟีดรัส ทาสชาวมาซีโดเนียนในยุคจักรพรรดิออกุสตุสแห่งโรมัน  เป็นผู้หนึ่งที่ได้รวบรวม

หลักฐานนิทานของอีสปไว้เป็นภาษาลาติน  บางตำนานบอกว่า                 ชาวกรีกผู้หนึ่งชื่อ เดมิตริอุส ได้รวบรวมนิทานของอีสปเขียน

เป็นหนังสือไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตศักราช  ต่อมาก็ได้มีผู้เขียนขึ้นใหม่อีกหลายคน   และเมื่อ ค.ศ.1400 พระชื่อ มาซิมุส พลานูด

 ได้แปลนิทานของอีสปจากภาษาลาตินมาเป็นภาษาอังกฤษ  นับแต่นั้นมาชาวยุโรปได้แปลนิทานของอีสปเป็นภาษาของตนจนแพร่หลาย

ไปทั่วโลก  ซึ่งส่วนใหญ่จะดัดแปลงเนื้อหาให้เข้ากับสภาพบ้านเมืองของตน  แต่คติและข้อคิดอันเป็นหัวใจของเรื่องยังคงได้รับการรักษา

เอาไว้  

             ลาฟองแตน  นักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลกชาวฝรั่งเศส  เป็นคนหนึ่งที่ทำให้นิทานอีสปแพร่หลายสูงสุดนิทาน

ของเขาจะเขียนเป็นคำกลอนซึ่งเด็กๆฝรั่งเศสจำได้ขึ้นใจ  และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากมาย  นิทานของเขามีทั้งแต่งขึ้นเองและ

ดัดแปลงจากของอีสป จนยากจะแยกแยะ  นิทานอีสปมีนับพันเรื่อง ซึ่งยากจะระบุว่าเรื่องใดใช่หรือไม่ใช่นิทานของอีสป

               ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าอีสปมีอายุยืนยาวเท่าไรและตายเพราะเหตุใด  นักประวัติศาสตร์บางท่านปฏิเสธว่าอีสปไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง  

 แต่มีพระองค์หนึ่งที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ชื่อว่า แมกซิมุส พลานุเดซ เขียนบันทึกไว้ในศตวรรษที่ 14  ว่าอีสปมีตัวตนจริงโดยพรรณนา

รูปร่างลักษณะของอีสปตรงกับที่ คามิอุส บันทึกไว้และตรงกับรูปปั้นหินอ่อนอีสปที่  วิลลา อัลบานี  ในกรุงโรมทุกประการ

       

       ในเมืองไทย  พระจรัส ชวนะพันธุ์ (สาตร์) ได้กล่าวไว้ใน คำชี้แจงของผู้แต่ง  (ลงวันที่ 22 ธันวาคม ร.ศ.130) จากหนังสือ

นิทานอีสปของกระทรวงศึกษาธิการว่า  “หนังสือนิทานอีสปเล่มนี้พระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้ทรงแนะนำให้

ข้าพเจ้าแต่งขึ้นให้ใช้ภาษาง่ายๆ และประโยคสั้นๆ สำหรับเด็กในชั้นมูลศึกษาจะได้ใช้เป็นแบบสอนอ่านเมื่อเรียนแบบเรียนมูลศึกษาจบแล้ว” 

     ในปัจจุบันได้มีผู้แปลและเรียบเรียงนิทานอีสปเป็นภาษาไทยมากมายหลายเล่ม  ทั้งที่รวบรวมไว้เล่มละหลายๆเรื่อง และแยกเป็นเล่มละ

เรื่องวาดภาพประกอบ หรือจัดพิมพ์จำหน่ายในแนวนิทานภาพสำหรับเด็กซึ่งได้รับความสนใจจากผู้อ่าน

สืบเนื่องเสมอมา

 

                    ท่านสามารถพบของจริงได้จาก  “อมตะนิทานอีสป”  รวมนิทานคติสอนใจ 272 เรื่อง

                        ซึ่งจัดพิมพ์โดย สุวีริยาสาส์น เมื่อพ.ศ.2541 เรียบเรียงโดย “ธนากิต”

                หาซื้อได้ที่อื่น และที่  ร้านบูรพาสาส์น  ใกล้โรงละคอนเฉลิมกรุง ต้นถนนเจริญกรุง

                                                      กรุงเทพฯ  พระนคร